วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี


การวิจักษ์วรรณคดี
       คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด  มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร  มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ  ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร  บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น  ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด      อ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ 
เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม         อ่านเพิ่มเติม 

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง


อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แนวคิด
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา

นิราศนรินทร์คำโคลง


ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม          อ่านเพิ่มเติม
      

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐


เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461   อ่านเพิ่มเติม